พลังงาน




พลังงานคือ

พลังงานมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก  เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยพลังงานเพื่อทำให้เกิดกระบวนการและปฏิกิริยาต่าง ๆ กระบวนการหรือปฏิกิริยาต่าง ๆ นี้ จะเกิดขึ้นในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งเราเรียก กระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งจะต้องอาศัยพลังงานเพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยานั้น ถ้าปราศจากพลังงานเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายของสิ่งมีชีวิตจะตาย หรือในที่สุดสิ่งมีชีวิตก็จะต้องตาย
นอกจากสิ่งมีชีวิตจะใช้พลังงานซึ่งอยู่ในรูปของสารอาหารในการดำรงชีวิตโดยตรงแล้ว สิ่งมีชีวิตยังต้องใช้พลังงานในรูปแบบลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันอีกในหลายรูปแบบ เช่น แสงสว่าง ความร้อน ไฟฟ้า ฯลฯ

ความหมายของพลังงาน

พลังงาน หมายถึง ความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงาน (Fbility to do work) โดยการทำให้วัตถุหรือธาตุเกิดการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปแบบไปได้ การที่วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ก็เพราะมีแรง หรือพลังงานอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าไปกระทำ เช่น การที่สิ่งมีชีวิตสามารถเคลื่อนที่ไปมาเพื่อกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ก็เพราะมีพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารและแหล่งพลังงานอื่น ๆ และการที่วัตถุหรือธาตุสามารถมารวมกันประกอบเข้าเป็นสิ่งของ หรือการที่สิ่งของถูกแยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ก็เพราะมีแรงหรือพลังงานเข้าไปกระทำนั่นเอง
ตัวอย่างในเรื่องของพลังงานที่จะทำให้เข้าใจความหมายของพลังงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ การเคลื่อนที่ของรถยนต์ การที่รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปได้ก็เพราะมีพลังงานเคมีเก็บสะสมอยู่ในรูปของน้ำมัน แล้วพลังงานเคมีในน้ำมันก็จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกล (Mechanicl Energy) และพลังงานความร้อนทีทำให้รถยนต์เกิดการเคลื่อนที่ได้ พลังงานของเครื่องยนต์ก็จัดว่าเป็นพลังงานในอีกลักษณะหนึ่ง

ทรัพยากรพลังงาน

ทรัพยากรพลังงาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. พลังงานประเภทที่เกิดทดแทนใหม่ได้ (พลังงานหมุนเวียน) ได้แก่ พลังงานจากฟืนและถ่าน แกลบ พลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น

ฟืนและถ่าน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟืนและถ่าน
เป็นรูปแบบของพลังงานที่มนุษย์รู้จักใช้ก่อนพลังงานอย่างอื่น ๆ คือเริ่มใช้ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์รู้จักใช้ไฟโดยใช้พลังงานจากฟืนในการหุงต้มให้แสงสว่างและความร้อน ปัจจุบันก็ยังใช้ฟืน – ถ่านเป็นพลังงานในการหุงต้มอยู่ สำหรับประเทศไทยป่าไม้เป็นแหล่งพลังงานพื้นฐานของคนไทยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ การตัดไม้จากป่าแปรรูปเป็นฟืนและถ่านส่วนใหญ่ใช้เพื่อการหุงต้มในครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทอัตราการทำลายป่าในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าใน อนาคตถ้าหากยังไม่มีการควบคุมป้องกันการทำลายป่าหรือการปลูกป่าให้ทันความต้องการใช้แล้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรชนิดนี้อย่างแน่นอน

แกลบ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกลบแกลบได้มาจากผลผลิตของข้าวที่ชาวนาได้ปลูกกันไว้กินสำหรับในประเทศไทยก็ยังมีการปลูกอยู่มากมายทั่วทุกภาค การนำแกลลบมาใช้ทางด้านความร้อน ได้แก่ โรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำและใช้ฉุดเครื่องเพื่อสีข้าว ใช้ในการเผาอิฐ ใช้ในการหุงต้มและผลิตถ่าน แกลบยังมีอยู่อีกมากมายที่ตราบใดชาวนายังปลูกข้าวอยู่

                                         แหล่งพลังน้ำ

พลังน้ำ (Hydropower) มนุษย์รู้จักนำพลังจากกระแสน้ำมาใช้ประโยชน์โดยเปลี่ยนเป็นพลังงานกลตั้งแต่สมัยโรมัน และในปัจจุบันก็มีการพลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ากันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากพลังงานที่ได้จากกระแสน้ำไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง และไม่ทำให้เกิดสารพิษอื่น ๆ การใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้างพลังงานอื่นนั้น ก็สามารถทำได้โดยการสร้างเขื่อนปิดกั้นเส้นทางไหลของกระแสน้ำ ทำให้ระดับน้ำในเส้นทางที่จะไหลต่อไปมีระดับต่ำ แล้วจัดทำให้น้ำเหนือเขื่อนไหลไปหมุนกังหันน้ำซึ่งจะทำให้ได้กระแสไฟฟ้าต่อไป ในปัจจุบัน การใช้พลังงานน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามีอยู่ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่ใช้อยู่ทั้งหมดในโลก
น้ำเป็นของเหลวที่มีอยู่มากในทะเลและมหาสมุทร  เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ อากาศที่มีไอน้ำปนอยู่จะเบากว่าอากาศแห้ง จึงมักจะลอยตัวสูงขึ้นได้กลายเป็นเมฆ เมื่อถูกลมหอบเข้าสู่แผ่นดินและยิ่งลอยสูงขึ้นสู่ยอดเขา อากาศที่มีไอน้ำนี้จะขยายตัวและเย็นตัวลงทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวดินและไหลไปตามร่องน้ำธรรมชาติจนกลายเป็นแม่น้ำลำคลองบางส่วนก็ไหลซึมลงดิน
ประเทศไทยใช้พลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการสร้างเขื่อน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 นอกจากเราจะใช้พลังน้ำที่ได้จากการสร้างเขื่อนแล้ว พลังน้ำจากกระแสคลื่นและจากน้ำขึ้นน้ำลงก็นำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์กันแพร่หลายนก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ

พลังงานแสงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานของโลกที่สำคัญที่สุด มนุษย์ได้อาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ สิ่งมีชีวิตทั้หงมดที่อุบัติขึ้นในโลกซึ่งได้มีวิวัฒนาการมาจนปัจจุบัน จะต้องอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตทั้งสิ้น เพราะพลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ มากมาย เช่น การสังเคราะห์แสงในพืช (Photosynthesis) การทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และทำให้ร่างกายของสิ่งมีชีวิตกระทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ได้ นอกจากดวงอาทิตย์จะเป็นปัจจัยของการมีชีวิตโดยตรงดังกล่าวแล้ว มนุษย์ยังต้องใช้พลังงานซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากดวงอาทิตย์ในรูปแบบต่าง ๆ อีก เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ถ่าน ฟืน เป็นต้น
เดิมเราใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ตามสภาพธรรมชาติ เช่น ใช้ในการทำนาเกลือ โดยการกักน้ำทะเลไว้และให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ช่วยระเหยน้ำออกไปได้เกลือ  นอกจากนั้นก็ใช้ในการอบหรือตากผลิตผลทางการเกษตร เช่น การทำเนื้อเแห้ง ปลาแห้ง ผลไม้แห้ง และการตากข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เหล่านี้เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะพัฒนานำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้โดยการสร้างแผงสำหรับรับความร้อน หรือเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า (เซลล์แสงอาทิตย์) เพื่อนำไปใช้ในการสูบน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง สำหรับชนบทและอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นการทดลอง ทั้งนี้เพื่อหาทางทดแทนพลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ

พลังงานลม

ลมก็คือพลังงานที่มีกำเนิดมาจากแสงอาทิตย์นั่นเอง มนุษย์เรารู้จักใช้กังหันลมในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรกรรมมานานแล้ว เช่น ในประเทศไทยเราก็มีการใช้กังหันลมในการผันน้ำทะเลเข้านาเกลือหรือผันน้ำจากลำคลองเข้านาข้าว เป็นต้น ปัจจุบันก็ได้มัการค้นคว้าหาวิธีการที่จะออกแบบกังหันลมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขั้น เพื่อใช้แทนการใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง นอกจากจะใช้ในการสูบน้ำแล้ว  เรายังสามารถใช้กังหันลมในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ถ้าหากที่ในบริเวณนั้นมีลมพัดแรงและสม่ำเสมอ เช่น แถบชายฝั่งทะเล ทั้งนี้การออกแบบกังหันลมก็จะแตกต่างไปจากกังหันลมที่ใช้สูบน้ำเพราะลักษณะการหมุนจะเร็วและแรงมาก ได้มีการทดลองใช้กังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ที่เกาะบางแห่งทางภาคเหนือของประเทศอังกฤษ คือ แถบบสกอตแลนด์ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว

พลังงานจากชีวมวล

พลังงานจากชีวมวลนั้น เราอาจจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรงเลย เช่น การใช้ถ่านและฟืนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายทั่วโลกยังคงต้องพึ่งพาอาศัยถ่ายและฟืนเป็นพลังงานหลักในการหุงต้มอาหาร และกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานดังกล่าว จึงได้มีความพยายามที่จะจัดการปลูกสร้างสวนป่าการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายไป และเพื่อให้มีการเพียงพอแก่ความต้องการใช้ นอกจากนั้น ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการใช้ถ่านและฟืนให้ลดน้อยลงด้วยการปรับปรุงเตาที่ใช้ในการหุงต้มอาหารให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือใช้เชื้อเพลิงน้อยลง และได้มีการปรับปรุงเตาผลิตถ่านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเตาผลิตถ่าน คือ การแปรสภาพจากไม้ให้เป็นถ่านได้เพิ่มขึ้นถึง 25-40% เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า เรามีโอกาสที่จะประหยัดการใช้ไม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงลงไปได้ 25-40% ด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้นก็มีการนำเอาของเสีย เช่นมูลสัตว์ และของเสียการเกษตร จากกระบวนการผลิตอาหาร หรือจากของเสียประเภทอินทรียสารจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ปัจจุบันเป้นที่นิยมใช้กันมากตามชนบทในประเทศอินเดีย และประเทศจีน สำหรับประเทศไทยก้มีการใช้ในชนบทหรือหมู่บ้านบางแห่งที่มีการเลี้ยงสัตว์ เช่นที่จังหวัดนครปฐม ลพบุรี สระบุรี เป็นต้น

พลังงานปรมาณู

พลังงานปรมาณูหรือพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการแตกตัวหรือรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาติบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้พลังงานปล่อยออกมา เป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับการพัฒนาและใช้กันมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ญี่ปุ่น ฯลฯ บางครั้งก็เรียกพลังงานปรมาณูว่าพลังงานจากอะตอม พลังงานนิเคลียร์สามารถนำไปใช้ในกิจการหลายอย่าง เช่น การทำอาหาร การแพทย์ การเกษตร การผลิตกระแสไฟฟ้าและในการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ส่วนธาตุที่นำมาใช้ในการก่อให้เกิดพลังานปรมาณูที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่ เรเดียม-226 ยูเรเนียม-238 คาร์บอน-14 ไอโอไดน์-137 และพลูโทเนียม-239 แต่การผลิตพลังงานปรมาณูจะทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างมาก ถ้ามิได้มีกรรมวิธีที่ใช้ป้องกันการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีดีพอ และกากของสารกัมมตภาพรังสีที่เหลือจากการผลิตพลังงานปรมาณูซึ่งยังคงมีกัมมตภาพรังสีที่เป็นอันตรายอยู่ ก็ยังเป็นปัญหาในการกำจัดในปัจจุบัน
เป็นพลังงานที่ได้จากอะตอมของธาตุบางชนิดที่เรียกว่า Nuclear Fission เป็นพลังงานที่ได้จากการแตกตัวอย่างต่อเนื่องของอะตอมของสารบางชนิด เช่น ยูเรเนียม – 235 พลูโทเนียม-237 ฯลฯ จนทำให้เกิดความร้อนขึ้นและความร้อนนี้เองที่สามารถนำไปทำให้เกิดไอน้ำ และเมื่อไอน้ำถูกอัดตัวอยู่ในพื้นที่อันจำกัดในปริมาณที่มาก  ก็จะเกิดแรงอัดหรือแรงดันขึ้น  และจากแรงดันนี้ก็สามารถนำไปหมุนใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้  ส่วนพลังงานที่ได้จากการรวมตัวของอะตอมของธาตุบางชนิด เช่น ไฮโดรเจน เรียกว่า Nuclear Fusion
เนื่องจากความร้องการไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีหลายประเทศหันไปใช้พลังงานปรมาณูเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้ถ่านหินและน้ำมัน และคาดว่าพลังงานปรมาณูจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกต่อไปในอนาคต  ถ้าสามารถป้องกันปัญหาจากกัมมันตภาพรังสี และมีวิธีกำจัดกากของสารกัมมันตภาพรังสีได้ดีกว่าในปัจจุบัน

พลังงานใต้พิภพ (Geothermal Energy)

เป็นแหล่งพลังงานตามธรรมชาติที่มีอยู่ใต้พื้นโลก และนับเป็นแหล่งพลังงานที่ได้มีการนำมาใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างพลังงานปรมาณู พลังน้ำ พลังงานจากน้ำมัน และถ่านหิน ในปัจจุบัน ได้มีการนำพลังงานใต้พิภพมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ากันบ้างแล้ว เช่นในสหภาพโซเวียต ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก แต่ก็นับว่าพลังงานใต้พิภพได้ถูกนำมาใช้น้อยมาก คือน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ใช้อยู่ทั้งหมด

พลังงานจากสิ่งมีชีวิต

พลังงานจากสิ่งมีชีวิตหรือทีเรียกว่า Fossil Fuel เป็นพลังงานที่เกิดจากซากสัตว์ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานนับล้านปี ซึ่งเมื่อถูกสันดาปก็จะทำให้พลังงานที่สะสมไว้ถูกปลดปล่อยออกมา พลังงานจากสิ่งมีชีวิตนี้ได้มีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง และใช้อยู่ในปริมาณมากกว่าพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ คือใช้อยู่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่มนุษย์ใช้อยู่ในโลกทั้งหมด พลังงานจากสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ หรือที่ผู้ใช้เรียกติดปากว่า แก๊ส น้ำมันดิบ ถ่านหิน หินน้ำมัน ถ่าน ฟืน เป็นต้น ในปัจจุบันการใช้พลังงานประเภทนี้โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก  ในขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาตและน้ำมันที่มีอยู่กำลังลดปริมาณลงเหลือน้อยเต็มที จึงคาดว่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่มีอยู่กำลังลดปริมาณลงเหลือน้อยเต็มที จึงคาดว่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันคงจะขาดแคลนลงในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้านี้ แต่สำหรับพลังงานอย่างอื่น  เช่น ถ่านหิน ประมาณว่า มีปริมาณมากพอที่จะใช้ได้ถึง 200-300 ปีข้างหน้า

  1. พลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (พลังงานสิ้นเปลือง)

ได้แก่ถ่านหิน หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น พลังงานดังกล่าวนี้เกิดจากซางพืชซากสัตว์ถูกทับถมไว้ใต้ชั้นตะกอน ทราย หิน ปูน โคลน ที่ซ้อน ๆ กันอยู่นานเป็นล้าน ๆ ปี

น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 

ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ  เพราะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตในปัจจุบันกิจกรรมประจำวันขงเราทุกวันนี้ต้องขึ้นอยู่กับพลังงานประเภทนี้โดยสิ้นเชิง  ไม่ว่าจะเป็นการหุงต้มอาหาร การคมนาคม การผลิตกระแสไฟฟ้าล้วนต้องอาศัยน้ำมันและก๊าซเกือบทั้งสิ้น  ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันและก๊าซครั้งใด ย่อมจะต้องกระทบกระเทือนถึงชีวิตความเป็นอยู่เสมอ

ถ่านหิน

ลิกไนต์ เป็นถ่านหินประเภทหนึ่งที่มีคุณภาพต่ำ เรามีแหล่งลิกไนต์ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง (350 ตัน) จะ.กระบี่ (100 ล้านตัน) และที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน (20 ล้านตัน) การนำมาใช้ประโยชน์ค่อนข้างจะมีขีดจำกัด นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงในการบ่มใบยาสูบแล้ว ปัจจุบันใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเท่านั้น เนื่องจากเมื่อนำลิกไนต์มาเผาเป็นเชื้อเพลิงแล้ว จะก่อให้เกิดก๊าซหลายชนิดที่เป็นมลพิษ คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่นหรือเถ้าเบา ไฮโดรคาร์บอน (ควันดำ) คาร์บอนมอนนอกไซด์ ระบบเผาไหม้ที่เป็นสากลจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ดักหรือจับก๊าซพิษนี้ไว้ และต้องมีอุปกรณ์ดักฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดปริมาณฝุ่นที่จะปล่อยสู่บรรยากาศให้อยู่ภายในมาตรฐานที่กำหนด

หินน้ำมันและทรายน้ำมัน

หินน้ำมันเป็นพลังงานที่ได้จากวัตถุที่เรียกว่า เคโรเจน (Kerogen) ซึ่งปนอยู่กับหิน เป็นสารประกอบของไฮโดรคาร์บอน  โดยมีกำมะถันผสมอยู่ด้วย กรรมวิธีการผลิตจะนำหินที่มีเคโรเจนมาแยกน้ำมันออกด้วยความร้อน 462 องศาเซลเซียส จะได้ไอระเหยเป็นน้ำมันที่เรียกว่า Dhale Oil หินน้ำมันนี้มีอยู่ในสหรัฐอเมริกามากกว่าแหล่งอื่น แต่กรรมวิธีการผลิตน้ำมันค่อนข้างจะเป็นปัญหายุ่งยากและได้ผลไม่คุ้มค่า  กล่าวคือ หิน 1 ตัน ที่พบว่ามีเคโรเจนอยู่ เมื่อนามาผลิตน้ำมันจะได้น้ำมันเพียง 20-40 แกลลอนเท่านั้น จึงยังไม่นิยมผลิตน้ำมันจากหินน้ำมัน
ทรายน้ำมันเป็นน้ำมันดิบที่ปะปนอยู่ในรูปของทรายที่เรียกว่า หินทราย (Sandstone หรือ Linestone) ซึ่งเป็นหินทรายที่กึ่งแข็งกึ่งเหลวและคล้ายน้ำมันดิบ คือมีสีดำ มีคาร์บอนเป็นส่วนผสมราว 83 เปอร์เซ็นต์ และมีกำมะถันอยู่มาก  การผลิตน้ำมันจากหินทรายก็คล้ายกับการผลิตจากหินน้ำมัน และยังมีปัญหาจากกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ต้นทุนสูงแหล่งทรายน้ำมันที่สำคัญและมีปริมาณมากในปัจจุบันอยู่ในประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา

พลังงานชีวมวล (BIOMASS)

เป็นพลังงานที่มีแหล่งกำเนิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง  แต่ได้ถูกเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นพลังงานเคมีที่มีอยู่ในโมเลกุลของ พืช สัตว์ หรือในรูปของสารอาหาร ดังนั้น พลังงานชีวมวลจึงหมายถึงพลังงานจากพืชน้ำ มูลสัตว์ และจากสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ เช่น ขยะมูลฝอย เป็นต้น

พลังงานไฟฟ้า

เป็นพลังงานที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานรูปแบบอื่น เช่น จากพลังงานแสงแดด น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานปรมาณู ฯลฯ

ความสำคัญของพลังงานต่อการดำเนินชีวิต

พลังงานชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักใช้เพื่อการทำงานมาตั้งแต่เริ่มแรกก็คือ พลังงานจากกล้ามเนื้อที่ถูกสะสมไว้ในร่างกายจากการกินอาหาร ความสามารถของมนุษย์ในการแสวงหาอาหาร และการทำงานหรือการเก็บเกี่ยวขุดค้นแสงหาทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ จะถูกจำกัดด้วยปริมาณของพลังงานที่ได้จากกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าสังคมมนุษย์จะได้รับการวิวัฒนากรมาถึงขั้นอารยธรรม สามารถก่อสร้างสิ่งใหญ่โตมโหฬาร เช่น กำแพงเมืองจีน พีรามิดก็ตาม มนุษย์ในยุคนั้นก็ยังคงใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อ ซึ่งได้มาจากแรงงานทาสและแรงงานสัตว์เป็นสำคัญ รวมทั้งการรู้จักใช้เครื่องทุ่นแรงต่างๆ เช่น คานงัด รอก การทำงานสะดวกขึ้นโดยลดแรงที่ต้องใช้ลงเท่านั้นเอง
ถึงแม้ว่าในยุคแรกมนุษย์ได้ค้นพบไฟ แต่มนุษย์ก็ใช้ประโยชน์จากไฟในการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตประเทศอบอุ่น ใช้ในการหุงต้มอาหาร รวมทั้งการป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่าเท่านั้น เชื้อเพลิงที่รู้จักนำมาใช้ในตอนนั้นคือไม้ และตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีการทำลายป่าเพื่อนำไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงเรื่อยมา จนกระทั่งถึงยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักทำเกษตรกรรมแทนการล่าสัตว์ การทำลายป่าเพื่อบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรมก็ได้เริ่มขึ้น และมนุษย์รู้จักใช้ไฟ้าเผาป่าเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ดี อัตราการทำลายป่าทั้งเพื่อการเกษตรกรรมและเพื่อนำไม้มาเป็นเชื้อเพลิงนี้ เป็นไปอย่างช้า ๆ นับเป็นพัน ๆ ปี กว่าจะตระหนักกันว่าเกิดปัญหาการขาดแคลนขึ้นก็ต่อเมื่อได้พบว่าตนจะต้องแก้ปัญหาที่ถูกจำกัดด้วยจำนวนประชากร  และพลังงานจากกล้ามเนื้อของมนุษย์นั่นเอง
ก้าวกระโดดที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติก็คือ การคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำและเครื่องยนต์สันดาปภายในที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานกลได้ เมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  นอกจากนั้นก็มีการค้นพบแหล่งพลังงานอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้แทนไม้เพื่อให้เกิดความร้อนได้ คือ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เป็นผลให้ขีดความสามารถในการทำงานและการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ของมนุษย์เพิ่มขึ้นหลายร้อยหลายพันเท่า จนทำให้เกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและแผ่ขยายไปทั่วยุโรป อเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น ยิ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้นเพียงใดก็ยิ่งเป็นผลทำให้จำเป็นต้องใช้และพึ่งพาพลังงานพวกถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหล่านี้มากขึ้นเพียงนั้น เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานต่อหน่วยหัวของประชากร (เฉลี่ยทั่วโลก) ในยุคที่พัฒนาแล้วจะพบว่ามีค่ามากกว่ายุคเริ่มแรกถึงประมาณกว่า 200 เท่า

สถานการณ์และวิกฤตการณ์พลังงานของโลก

วิกฤตการณ์พลังงาน หมายถึง การขาดแคลนพลังงาน และการที่พลังงานมีราคาแพง โดยทั่วไปถ้าหากพลังงานชนิดใดเกิดการขาดแคลนหรือหายากขึ้น ก็จะทำให้พลังงานชนิดนั้นมีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย แต่การที่พลังงานมีราคาแพงขึ้น อาจมิได้หมายถึงการขาดแคลนพลังงานเสมอไป ดังเช่นการที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นอย่างมากมายหลายเท่าตัวในปัจจุบันนั้นอาจมิได้มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนน้ำมันแต่อย่างเดียว
พลังงาน นอกจากจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตและเคลื่อนไหวได้แล้ว  พลังงานยังทำให้สิ่งแวดล้อมสามารถดำรงสภาพอยู่ได้ด้วย นอกจากนี้ พลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ก็นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันอีกเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในแต่ละครั้ง จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัว ประเทศ และโลกเป็นอย่างมาก  จึงจำเนที่เราจะต้องศึกษาถึงสถานการณ์พลังงานของโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อจะได้มีความเข้าใจและตัดสินใจที่จะมีส่วนร่วมในการวางนโยบาย และเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมที่มีการต่อการใช้พลังงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ประวัติการใช้พลังงานของมนุษย์

มนุษย์เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานมาตั้งแต่ยุคโบราณ พลังงานจากตัวมนุษย์ถูกนำไปใช้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แสวงหาอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย เคลื่อนย้ายหรือท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ  เป็นต้น พลังงานที่มนุษย์ใช้ไปเพื่อทำกิจกรรมเหล่านี้ ได้มาจากกล้ามเนื้อ หรือจากอาหารที่บริโภคเข้าไปนั่นเอง
การใช้ไฟของมนุษย์ในระยะเริ่มแรกอาจเกิดขึ้นด้วยการบังเอิญ เมื่อสังเกตเห็นไฟที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า หรือภูเขาไฟระเบิด จากนั้นจึงรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่น ทำอาวุธ และใช้เพื่อการหุงต้มอาหาร เชื้อเพลิงที่ใช้ในยุคนี้ก็ได้จากไม้ที่หาได้ในป่า หรือในบริเวณที่อยู่อาศัย คาดว่าการรู้จักใช้ฟืนในการหุงต้มอาหารนั้น ได้มีขึ้นครั้งแรกในดินแดนแถบยุโรป
เมื่อมนุษย์รู้จักไฟ จึงได้มีการนำโลหะมาเผาไฟสร้างเป็นอาวุธเพื่อใช้ล่าสัตว์ สัตว์ที่จับได้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็นำเข้ามาเลี้ยงไว้ในที่อยู่อาศัย หรือในชุมชนจนเกิดมีการขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น และเมื่อมีการใช้แรงงานจากตัวมนุษย์เองไม่เพียงพอ จึงได้มีการใช้แรงงานจากสัตว์ที่นำมาเลี้ยงไว้เหล่านี้ เช่น ม้า วัว เพื่อบรรทุกสัมภาระสิ่งของ ลากจูงล้อเลื่อนและใช้ในการเตรียมดินในการเพาะปลูกอื่น ๆ ชาวอียิปต์ และชาวจีน นับว่าเป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักใช้แรงจากสัตว์เพื่อการเพาะปลูก การใช้แรงงานจากมนุษย์และสัตว์นี้นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้กันอยู่หลายศตวรรษ และได้แพร่หลายทั่วไป นอกจากนี้เมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์วงล้อ (รอก) สำหรับตักน้ำขึ้นจากบ่อ หรือจากแม่น้ำขึ้นมาใช้ในระยะแรก ๆ ก็ใช้แรงมนุษย์ในการหมุนวงล้อนั้น แต่ต่อมาก็ได้พัฒนามาใช้แรงวัว หรือแรงจากสัตว์อื่นแทน

โครงสร้างการใช้พลังงานของโลก

การใช้พลังงานของโลกเริ่มจากการใช้พลังงานจากร่างกายของมนุษย์  จากแรงงานสัตว์ และต่อมาก็เริ่มมีการใช้พลังงานจากไฟโดยใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง  พลังงานจากแหล่งทั้งสามนี้ถูกใช้มาเป็นเวลายาวนานกว่า 500,000 ปี จนเมื่อประมาณเกือบร้อยปีที่ผ่านมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงาน แต่ปัจจุบันการใช้พลังงานประเภทนี้ได้ลดความนิยมลงไปมาก เพราะไดี้การผลิตน้ำมันและก๊าซซึ่งให้ความสะดวกในการใช้มากกว่าขึ้นใช้อย่างแพร่หลาย  แต่คาดว่าน้ำมันและก๊าซจะเป็นพลังงานหลักของโลกต่อไปอีกเพียงประมาณ 20 ปี หลังจากนั้นปริมาณน้ำมันและก๊าซจะไม่พอใช้อีกต่อไป


พลังงานนอกจากจะเป็นเสมือนสายเลือดของระบบนิเวศแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญของการดำรงชีวิต  เพราะพลังงานมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของสังคมในปัจจุบันมาก  แต่ปรากฎว่าในปัจจุบัน พลังงานกำลังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบมาสู่คนส่วนใหญ่ดังต่อไปนี้ คือวิกฤติการณ์พลังงาน

ปัญหาการบริโภคอาหาร ปัญหาการบริโภคอาหารที่อาจทำให้การใช้พลังงานของร่างกายเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมได้ คือการขาดอาหาร และการบริโภคอาหารมากจนเกินไป การขาดอาหารอาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนอาหาร หรือจากการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคภัย และไม่เจริญเติบโตได้ตามปกติ ประมาณว่าในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เสียชีวิตเพราะการขาดอาหารไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้อาจพบเป็นข่าวอยู่เสมอถึงการอดอยาก การขาดแคลนอาหารของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกา  และบางประเทศในทวีปเอเชีย
ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา  พบว่ามีการบริโภคอาหาร มากเกินไปเมื่อเฉลี่ยเปรียบเทียบกับชาติอื่น ๆ โดยมีการบริโภคอาหารจนร่างกายได้รับธาตุอาหารและพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการตามปกติ  ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้พลังงานอาหารที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน
ปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการไม่รู้จักเลือกบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมและการกระจายอาหารไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกอย่างไม่เหมาะสมด้วย
ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน เนื่องจากความร้องการพลังงานหลัก ซึ่ง ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการขนส่ง การอุตสาหกรรม และการสาธารณูปโภค ได้สูงขึ้นกว่าเมื่อ 30 ปี ก่อนถึงกว่า 2 เท่าตัว และความต้องการพลังงานทุกชนิดก็เพิ่มมากขึ้นถึงเกือบ 2 เท่า ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกกำลังจะหมดไปในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ส่วนแร่ยูเรเนียมที่เป็นสารให้พลังงานปรมาณูที่สำคัญก้มีอยู่จำนวนน้ำย การเปลี่ยนไปใช้พลังงานปรมาณูจึงไม่อาจแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ ถ้าปริมาณการใช้และการผลิตยังเป็นอยู่เช่นในปัจจุบันนี้  จึงจำเป็นที่เราจะต้องแสวงหาพลังงานอื่นมาทดแทน และใช้พลังงานที่มีอยู่ให้น้อยลง และให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ปัญหาราคาพลังงาน เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้น้ำมันและก๊าซในกิจการต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย จนปรากฎว่ามีการใช้พลังงานทั้งสองชนิดนี้กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่ใช้อยู่ทุกชิด และโดยเฉพาะน้ำมันนั้นได้ใช้อยู่กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด ใน พ.ศ. 2516 เมื่อกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก หรือที่เรียกกันว่า โอเปค (OPEC-Organiztion of Petroleum Exporting Countries) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันและจำกัดปริมาณการผลิตเป็นครั้งแรก ทำให้น้ำมันมีราคาสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคม ฯลฯ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และจากแนวโน้มของราคาน้ำมันในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่า ได้ลดลงราว 2 เท่าของราคาที่เคยสูงสุด คือ จากบาร์เรลละ 34 เหรียญสหรัฐ เหลือประมาณบาร์เรลละ 12-15 เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศอยู่บางส่วน
ปัญหามลภาวะจากการใช้พลังงาน การใช้พลังงานอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ว่าในด้านการผลิตหรือการนำไปใช้ แหล่งพลังงานที่เกิดจากการทับถามของซากสิ่งมีชีวิต (Fossil Fuel) เช่น ถ่านหิน และน้ำมัน ได้ก่อให้เกิดสารกำมะถัน ไฮโดรคาร์บอน ไนไตรร์ เขม่า และขี้เถ้า ต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนพลังงานปรมาณูก็ทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ถ้ายังไม่มีวิธีการป้องกันสารดังกล่าวได้ดีพอ จะเห็นได้ว่ามลภาวะที่เกิดขึ้นกับสภาวะแวดล้อมนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้พลังงาน

หลักการอนุรักษ์พลังงาน

กฎที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับพลังงานที่ทุกคนจำเป็นต้องเข้าใจ คือ กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ ข้อที่ 2 กล่าวไว้ว่า “การเปลี่ยนรูปของพลังงานจากรูปหนึ่งไปสู่อีกรูปหนึ่งนั้น จะต้องมีการสูญเสียพลังงานส่วนหนึ่งไปในรูปของความร้อนเสมอไป”
ดังนั้น ในการนำพลังงานมาใช้หรือแปรรูปเพื่อใช้ทุกครั้งถึงแม้ว่าปริมาณของพลังงานจะยังคงที่ก็ตาม แต่คุณภาพของพลังงานจะเสื่อมลง คุณภาพของพลังงาน คือ ขีดความสามารถที่จะดึงเอาพลังงานจำนวนนั้นมาใช้งานได้
รูปแบบของพลังงานที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล พลังงานแสง พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานสามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ และเมื่อมีการเปลี่ยนรูปพลังงานขึ้นก็จะเกิดการสูญเสียพลังงานส่วนหนึ่งไปในรูปของความร้อน การสูญเสียที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการเปลี่ยนรูปและคุณภาพของพลังงาน
หลักการอนุรักษ์พลังงานที่ถูกต้องนั้น คือ เราอนุรักษ์คุณภาพของพลังงาน ซึ่งคำนิยามของการอนุรักษ์พลังงานที่ปรากฎอยู่ใน พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 2535 กล่าวไว้ว่า
“อนุรักษ์พลังงาน” หมายความว่า ผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด

การอนุรักษ์พลังงานในประเทศไทย

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
เพื่อที่จะยกระดับกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ให้มีสถานะเป็นพันธะของรัฐที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ มีทิศทาง แนวทางและมาตรการต่าง ๆ ทั้งรัฐจะสามารถเข้าไปชี้นำส่งเสริม กระตุ้นเตือน ดูแล และติดตามการดำเนินได้ และที่สำคัญจำเป็นต้องมีโครงสร้าง และระบบการบริหารงานด้านนี้ที่เป็นเอกภาพ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ มีหน่วยงานปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนในภาระหน้าที่ของตน และมีกลไกที่จะให้การสนับสนุนอย่างมีรูปธรรม คือ มีกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จึงได้เริ่มจัดทำร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เสนอต่อคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ เมื่อปี 2529 โดยผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนมาร่วมในการร่างกฎหมายนี้ด้วยและได้ดำเนินการจนคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้ส่งร่างพระราชบัญญิตให้คณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใหม่โดยเน้นให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมเป็นมาตรการนำเพื่อให้มีความชัดเจนและให้ภาคเอกชนมีความสามารถปฏิบัติได้ มีขอบเขตและขั้นตอนการดำเนินงานที่มีเป้าหมายชัดเจนและเหมาะกับความสามารถของรัฐที่จะดูแลส่งเสริม และสนับสนุน เช่น การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ หรือด้านการเงิน ส่วนการลงโทษ ถ้าจะมีควรเป็นเพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติที่ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ จึงได้ดำเนินผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2535 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 3 เมษายน 2535 เป็นต้นมา

ความคิดเห็น

  1. Best Mobile Casino Apps (Updated for 2021)
    Discover the latest mobile casino apps 수원 출장마사지 for UK gamblers in 나주 출장샵 2021. We show 포항 출장샵 you 성남 출장안마 how to get the best welcome bonuses and offers to mobile casino 김천 출장안마 players.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น